‘ข้างหลังภาพ’ คณะราษฎร ณ กรุงปารีส (bis)

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นิตยสารศิลปวัฒนธรรมได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง ” ‘ข้างหลังภาพ’ คณะราษฎร ณ กรุงปารีส” ของคุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ โดยในบทความนี้คุณนริศได้สืบค้นเรื่องราว ‘ข้างหลังภาพ’ ของภาพถ่ายหมู่คณะราษฎร ณ กรุงปารีสที่คนรู้จักดีมาโดยละเอียด

ผู้เขียนเองได้มีส่วนในการค้นคว้าเรื่องราว ‘ข้างหลังภาพ’ นี้อยู่ด้วย นั่นคือการระบุจุดที่ภาพหมู่นี้ถูกถ่ายขึ้น ดังที่คุณนริศเขียนเล่าไว้ในบทความแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าคงจะเป็นการดี หากได้เล่าเกร็ดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นหาเรื่องราวข้างหลังภาพนี้ จึงขอยืมชื่อบทความของคุณนริศมาใช้ โดยได้เติมคำว่า (bis) ลงไป

ศิลปวัฒนธรรมฉบับเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. ๒๕๖๓

ตอนที่ผู้เขียนมาถึงปารีสใหม่ๆ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เอ่ยกับผู้เขียนว่ามันมีรูปภาพหมู่คณะราษฎรอยู่รูปหนึ่งที่ทุกคนรู้จักดี แต่ไม่รู้กันว่ารูปนี้ถ่ายขึ้นที่ไหน อาจารย์สมศักดิ์ได้เคยใช้เวลาว่างเดินตามหาสถานที่ดังกล่าวอยู่นาน โดยมีสมมติฐานว่าภาพนี้ควรถูกถ่ายใกล้ๆ กับย่านการศึกษาที่เรียกว่า “ย่านละติน” (Quartier Latin) ซึ่งสมาชิกคณะราษฎรหลายคนศึกษาอยู่

ภาพถ่ายนักเรียนและข้าราชการไทยในปารีสซึ่งต่อมาจะกลายเป็นสมาชิกคณะราษฎร ปี ค.ศ. ๑๙๒๖
Continue reading “‘ข้างหลังภาพ’ คณะราษฎร ณ กรุงปารีส (bis)”

หนังสือมือสองที่มีประวัติศาสตร์ของมันเอง (The Origins of Chinese Bolshevism by Michael Y. L. Luk)

วันนี้เมื่อปีที่แล้วผมได้เข้าไปร้านหนังสือมือสองเจ้าประจำ เป็นร้านเล็กๆ ที่มีแต่ลูกค้าหน้าเดิมๆ วันนี้รู้สึกประหลาดใจนิดหน่อยที่มีหนังสือฝ่ายซ้ายรวมทั้งหนังสือสายวิจารณ์เหมาหรือสตาลินอยู่หลายเล่ม คิดในใจว่าเจ้าของที่เป็นซ้ายเก่าที่ตาย ญาติเลยเอาหนังสือมาปล่อย หรือไม่ก็ฝ่ายซ้ายสักคนที่เลิกเป็นซ้ายไปแล้ว*

Continue reading “หนังสือมือสองที่มีประวัติศาสตร์ของมันเอง (The Origins of Chinese Bolshevism by Michael Y. L. Luk)”

กิจกรรมในกรุงเทพฯ เนื่องในโอกาส 100 ปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทุกสายตาคงจับจ้องไปยังกรุงปารีส ที่ซึ่งผู้นำกว่า 70 ประเทศทั่วโลกไปรวมตัวกันเพื่อรำลึกถึงการสิ้นสุดลง (อย่างน้อยก็ในแนวรบด้านตะวันตก) ของโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่เมื่อ 100 ปีที่แล้ว นอกจากพิธีรำลึกแล้ว ปีนี้ยังมีการจัด Peace Conference โดยกรุงปารีสเป็นเจ้าภาพ ถือเป็นการหยิบใช้โอกาสครบรอบศตวรรษมาจัดประชุมสันติภาพอีกครั้ง หลังจากที่ปารีสเคยเป็นเจ้าภาพไปช่วงหลังสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1919

ปีนี้ยังถือเป็นปีสุดท้ายของกระแสรำลึก 100 ปีสงครามโลกที่เริ่มทำกันตั้งแต่ปี 2014 ทั่วโลก จึงกล่าวได้ว่า ปีนี้เป็นหมุดหมายสำคัญในการทบทวนความรู้ที่เรามีเกี่ยวสงครามโลกครั้งที่ 1

ในกรณีของไทย การรำลึก Armistice ปีนี้ กลับกลายเป็น irony เพราะพร้อมๆ กันกับการรำลึกการสิ้นสุดสงคราม ประเทศไทยก็รำลึกถึงการที่ทหารสยามออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปถึงประเทศฝรั่งเศสด้วย (ทหารสยามไปถึงมาร์กเซยวันที่ 30 กรกฎาคม สงครามสิ้นสุด 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918)!

Continue reading “กิจกรรมในกรุงเทพฯ เนื่องในโอกาส 100 ปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1”

เยี่ยมบ้านชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่ประเทศอังกฤษ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปร่วมนำเสนอโปสเตอร์ในงานประชุมวิชาการของนักศึกษาปริญญาเอกและนักวิจัยปริญญาเอกที่สถาบันฟรานซิส คริกค์ (Francis Crick Institute) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ. สถาบันนี้ตั้งตามชื่อหนึ่งในผู้เสนอโครงสร้างโมเลกุลของดีเอ็นเอ เจมส์ วัตสัน (James Watson) และฟรานซิส คริกค์.

Continue reading “เยี่ยมบ้านชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่ประเทศอังกฤษ”

มรดกผู้นำคนแรกของรัสเซียยุคหลังโซเวียตผ่านพิพิธภัณฑ์บาริส เยลต์ซินที่เมืองเยคาเทรินบูร์ก

บนบ่า [ของบาริส เยลต์ซิน] มีทั้งงานใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและความผิดพลาดใหญ่หลวง ช่างเป็นชะตาชีวิตที่น่าเศร้า” — มิฮาอิล เซร์เกเยวิช การ์บาชอฟ
«За плечами [Ельцина] большие дела в пользу страны и серьезные ошибки. Трагическая судьба.» — М.С.Горбачев

เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาผู้เขียนได้ไปเมืองเยคาเทรินบูร์ก ประเทศรัสเซีย เมืองนี้มีชื่อเสียงจากการเป็นสถานที่สังหารครอบครัวโรมานอฟ ราชวงศ์ผู้ปกครองแห่งอดีตจักรวรรดิรัสเซียในปี ๑๙๑๘ อันที่จริงเมืองนี้ยังมีความสำคัญอีกหลายประการ ประการหนึ่งที่มีความผูกพันกับประวัติศาสตร์รัสเซียร่วมสมัยก็คือเมืองนี้คือเมืองบ้านเกิดของบาริส นิคาลาเยวิช เยลต์ซิน (Борис Николаевич Ельцин) ประธานาธิบดีคนแรกของรัสเซีย บุคคลที่สำคัญยิ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านของรัสเซียจากสังคมนิยมสู่ทุนนิยมปัจจุบัน เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองบ้านเกิดและเมืองที่เขาเติบโต ดังนั้นจึงมีพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้กับชีวิตและการทำงานของเขาตั้งอยู่ด้วย

Continue reading “มรดกผู้นำคนแรกของรัสเซียยุคหลังโซเวียตผ่านพิพิธภัณฑ์บาริส เยลต์ซินที่เมืองเยคาเทรินบูร์ก”

การประท้วงของนักศึกษาในฝรั่งเศส: พาไปเยี่ยมชมคอมมูนเสรีแห่งโตลเบียก (La commune libre de Tolbiac)

หมายเหตุ: บางส่วนเรียบเรียงจากเฟสบุ๊คของ Din Buadaeng

จุดเริ่มต้นการประท้วงของนักศึกษา

การเมืองฝรั่งเศสดุเดือดมาตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม เพราะเรียกได้ว่าประธานาธิบดีมาครง “ประกาศสงคราม” กับฝ่ายซ้าย โดยการพยายามปฏิรูปการรถไฟ ซึ่งมีสหภาพที่เข้มแข็งมาก เมื่อวันที่ 22 มีนาคมมีการนัดชุมนุมใหญ่โดยฝ่ายซ้าย ทั่วประเทศคาดว่าประมาณ 4 แสนคน ในปารีสอย่างเดียวประมาณ 4 หมื่นคน ความรู้สึกของฝ่ายซ้ายก็คือ การที่รัฐบาลเข้ามายุ่มย่ามกับการรถไฟ ถือเป็นการทดลองก้าวแรกสู่การปฏิรูปบริการสาธารณะอื่นๆ เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ฯลฯ หากเรายอมแพ้เวทีนี้ เวทีอื่นๆ ก็จะแพ้เช่นเดียวกัน ดังนั้น “เราทุกคนคือพนักงานการรถไฟ”

Continue reading “การประท้วงของนักศึกษาในฝรั่งเศส: พาไปเยี่ยมชมคอมมูนเสรีแห่งโตลเบียก (La commune libre de Tolbiac)”