จาก “เอกสารปรีดี” สู่ปรากฎการณ์ “จดหมายปรีดี”: ความไร้วุฒิภาวะของปัญญาชนฝ่าย “ประชาธิปไตย” ไทย

ข้อเขียนนี้เป็นบทสะท้อน (reflection) ต่อปรากฎการณ์ “จดหมายปรีดี” ซึ่งเป็นกระแสอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายปี 2023 และน่าจะถึงจุดสูงสุดในวันที่ 2 มกราคมที่ผ่านมา เมื่อกลุ่มไฟเย็น, จรัล ดิษฐาอภิชัย, เล็ก จรรยา ที่ลี้ภัยอยู่ในยุโรป ได้ทำการ Live สด อ่านและแปลเอกสารอย่างละเอียดทีละหน้า ในช่วงนี้เองใน Twitter มีการโพสต์ #จดหมายปรีดี ราว 4-500,000 โพสต์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเปิดเอกสารผิดชุด จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะไปเปิดเอกสารกันอีกในวันที่ 5 มกราคม และกระแส “จดหมายปรีดี” ก็จะกลับมาอีก

Continue reading “จาก “เอกสารปรีดี” สู่ปรากฎการณ์ “จดหมายปรีดี”: ความไร้วุฒิภาวะของปัญญาชนฝ่าย “ประชาธิปไตย” ไทย”

มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์มีน้ำยาอะไรบ้างในปัจจุบัน?

ข้อความต่อไปนี้เป็นการ “เกริ่นนำ” เข้าสู่ “ไส้ตะเกียงเสวนา”* ที่จัดขึ้นที่สวนอัญญา จ. เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อนิยามและเปิดประเด็นอย่างกว้าง ๆ โดยมีคำถามมากกว่าคำตอบเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวาง

Continue reading “มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์มีน้ำยาอะไรบ้างในปัจจุบัน?”

หรือพวงทอง ภวัครพันธุ์ จะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยทางการเมืองในรอบสี่ปีที่ผ่านมา?

ผมเขียนโพสต์นี้เพื่อบันทึกไว้ว่า วันนี้พวงทอง ภวัครพันธ์ โพสต์แบบสาธารณะ ทบทวนถึงสิ่งที่ตัวเองแก้ตัวให้ปิยบุตรและพรรคอนาคตใหม่กรณีดร็อปเรื่อง 112 เมื่อสี่ปีก่อน โดยพวงทองเขียนว่า “ทบทวนสิ่งที่ให้สัมภาษณ์ประชาไทเกี่ยวกับพรรคอนาคตใหม่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว มาวันนี้ยืนยันว่าที่พูดไปถูกต้อง ยกเว้น ผิดตรงจำนวน สส. ที่ อนค. ได้มามากกว่าที่คาดไว้เท่านั้น

พวงทองทิ้งท้ายด้วยข้อความว่า “ปล. บทเกริ่นยาวนี้คือการตอบโต้พวกช่วลที่ด่าเรากับ อ.ปิยะบุตร แต่ป่านนี้หายไปไหนก็ไม่รู้ รออยู่ว่าเมื่อไรเขาจะออกมานำการรณรงค์ให้ยกเลิก 112 สักทึ

ดูโพสต์ต้นทาง

บทเกริ่นยาวที่ว่า พวงทองไม่ได้เปิดเผยแบบสาธารณะ จึงขอไม่ลงรายละเอียด แต่เอาเป็นว่า บทเกริ่นยาวนั้นรวมถึงโพสต์นี้คงจะวิจารณ์ผมโดยตรง (“พวกช่วล”) เพราะสี่ปีก่อนผมตั้งคำถามถึงพวงทองในเรื่องการดีเฟนด์ปิยบุตรและพรรคอนาคตใหม่ในกรณีการดร็อปเรื่อง 112 ทั้งที่ไม่จำเป็น (ดูบทสัมภาษณ์พวงทองใน Prachatai English) รวมถึงเรียกร้องว่าแทนที่จะเอาแต่เชียร์พวกเดียวกัน เราช่วยกันเรียกร้องให้พรรคและนักการเมืองมีลักษณะที่ก้าวหน้าขึ้นดีไหม

(ดูโพสต์ต้นทา)

พวงทองเขียนต่อในคอมเม้นวันนี้ว่า “จริงๆ เมื่ออนค, ก้าวไกล, ก้าวหน้า พิสูจน์ตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็คิดถึงบทสัมภาษณ์นี้ตลอดว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้น ไม่ผิด แล้วก็สงสัยว่าคนที่ถล่มเราและปิยะบุตรในวันนั้น เขาคิดอย่างไรในวันนี้ เขายอมรับบ้างไหมว่าตัวเองผิดที่ด่วนประณามตราหน้าคนอื่น

Continue reading “หรือพวงทอง ภวัครพันธุ์ จะไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยทางการเมืองในรอบสี่ปีที่ผ่านมา?”

โทรเลขเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 9 วันที่ 19 ตุลาคม 2519

กรุงเทพ, วันที่ 21 ตุลาคม 1976

ได้รับวันที่ 22 ตุลาคม เวลา 10.48 น.

ที่ 1332/1340

เรื่อง สนทนากับกษัตริย์

ผมได้เข้าเฝ้ากษัตริย์และราชินีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ถือเป็นการเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการ ทั้งที่ความจริงแล้ว ผมได้ทำเรื่องขอเข้าเฝ้าฯ ตามข้อปฏิบัติเกี่ยวกับราชสำนักตั้งแต่เกือบสามเดือนก่อน แต่ไม่ได้รับอนุมัติเพราะองค์อธิปัตย์ทั้งสองเสด็จฯ ออกนอกกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม

ก่อนหน้านี้ ผมเคยสนทนาแต่เรื่องทั่วไปกับพระองค์ แต่การสนทนาครั้งนี้ พระองค์จงใจให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองเป็นหลัก พระองค์ทรงสาธยายที่มาของการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการเล่าสถานการณ์ของประเทศอันมีแต่จะย่ำแย่ลงทุกวัน กล่าวคือ พวกคอมมิวนิสต์ใช้ประโยชน์จากการสมรู้ร่วมคิดของคนพวกหนึ่ง ความเพิกเฉยและความไร้ความสามารถของคนอีกพวกหนึ่ง แทรกซึมไปทั่วทุกหนแห่ง พวกเขาปลุกปั่นให้รัฐแตกสลายเพื่อที่จะยึดอำนาจรัฐ

Continue reading “โทรเลขเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 9 วันที่ 19 ตุลาคม 2519”

ปัญหาของงานฟุตบอลประเพณีคือการยึดโยงกับอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยของสถาบันกษัตริย์

ไม่กี่วันมานี้มีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับงานฟุตบอลประเพณี เนื่องจากองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ประกาศยกเลิกขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในปีนี้

ในฐานะคนที่เคยค้นคว้าและร่วมเสวนาเกี่ยวกับงานฟุตบอลประเพณี เลยอยากจะเอาข้อมูลส่วนที่ตัวเองเคยค้นและประสบการณ์บางประการมาเผยแพร่ รวมถึงการเสนอข้อเสนอบางประการ โดยหวังว่าจะมีประโยชน์อยู่บ้างในสถานการณ์ปัจจุบัน

เมื่อเดือนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ปี 2555 กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน (CCP) ซึ่งผมเป็นสมาชิก จัดงานเสวนา “เรายังจะจัดงานบอลกันอีกหรือ?” งานดังกล่าวมีวิทยากรหลายท่าน ส่วนใหญ่เป็นการวิจารณ์งานบอลที่จะจัดขึ้นในปีนั้น (จัดวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555)

ในงานดังกล่าว ผมนำเสนอเรื่องประวัติศาสตร์ของงานฟุตบอลประเพณี โดยค้นเอกสารส่วนใหญ่จากหอประวัติฯ ของจุฬาฯ ผมทำ Powerpoint ไว้ จึงแปลงมาเป็น Pdf ให้โหลดได้ที่นี่

Continue reading “ปัญหาของงานฟุตบอลประเพณีคือการยึดโยงกับอำนาจที่ไม่เป็นประชาธิปไตยของสถาบันกษัตริย์”

คนระดับ “ศาสตราจารย์” ไชยันต์ ไชยพร กระจอกขนาดไม่รู้จักโต้แย้งในกรอบ “วิชาการ”?

“การเขียนและการเผยแพร่ข้อความเท็จ ในลักษณะที่เป็นวิชาการที่น่าเชื่อถือ ที่อาจจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรงทางการเมืองได้”

นี่คือข้อกล่าวหา ที่ไชยันต์ ไชยพร มีต่อณัฐพล ใจจริง และต้องการจะกล่าวหาทางอ้อมไปยังเครือข่ายที่เขาเห็นว่าเป็นพวกนักวิชาการสายวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ คือ กุลลดา สมศักดิ์ สุธาชัย วรเจตน์ ปิยบุตร คนเหล่านี้นอกจากจะมีอิทธิพลทางความคิดต่อณัฐพลแล้ว หลายคนเป็นกรรมการวิทยานิพนธ์เล่มนี้ หรือเล่มอื่นที่อ้างณัฐพล จึงแสดงว่าคนพวกนี้รู้เห็นเป็นใจ ปล่อยให้ผ่านไป

ที่สำคัญ คนพวกนี้ และงานเหล่านี้ กำลังเป็นที่นิยมอย่างยิ่งของขบวนการประชาธิปไตยในปัจจุบัน

ถามว่าข้อวิจารณนี้ของไชยันต์ อยู่บนฐานอะไร?

อยู่ที่เชิงอรรถเล็กๆ อันเดียว! ข้อความนั้นคือข้อความเรื่องผู้สำเร็จราชการมานั่งเป็นประธานครม. ตอนปี 2493 ในสมัยจอมพล ป.

Continue reading “คนระดับ “ศาสตราจารย์” ไชยันต์ ไชยพร กระจอกขนาดไม่รู้จักโต้แย้งในกรอบ “วิชาการ”?”

นิทานเรื่องการ “กลืนเลือด” ของปิยบุตร แสงกนกกุล

ผมเพิ่งได้ดูสัมภาษณ์ปิยบุตร ที่เผยแพร่เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2563 ในเฟสบุ๊คของ a day BULLETIN[1] ในบทสัมภาษณ์ดังกล่าว ปิยบุตรพูดว่าเขากลืนเลือด และเจ็บปวดกับการที่ต้องทรยศในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ โดยอ้างถึงเหตุการณ์วันที่ 27 มีนาคม 2561 เมื่อเขาจำเป็นต้องโพสต์ในเฟสบุ๊คว่าจะไม่นำประเด็นเรื่อง 112 ไปผลักดันในพรรค เพื่อแลกกับการที่พรรคจะได้ไปต่อในสถานการณ์ที่ฝ่ายตรงข้ามโจมตีว่าล้มเจ้า[2] ต่อมาในปัจจุบัน หลังจากทบทวนตัวเองแล้ว ปิยบุตรยอมรับว่าอาจจะผิดพลาดจริง ในแง่ที่ขับเคลื่อนเรื่องสถาบันกษัตริย์ในสภาน้อยเกินไป

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ 112 ถูกกลับมาใช้ในทางการเมือง นักเคลื่อนไหวกำลังถูกดำเนินคดี ปิยบุตรออกมาแก้ตัวให้ตัวเองว่าสองปีก่อนต้อง “กล้ำกลืนความเจ็บแค้นอย่างแสนสาหัส” (นิยามคำว่า “กลืนเลือด” ของราชบัณฑิตยสภา) เพราะมิอาจทำในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ

อย่างไรก็ตาม ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ปิยบุตรคงไม่ได้ “กลืนเลือด” ตัวเองเพราะขณะนั้นเขาละทิ้งสิ่งที่เขาเคยเชื่อ คืออุดมคติเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จริงๆ (จะกล่าวต่อไป) ในขณะเดียวกันฝ่าย “ประชาธิปไตย” แทบทั้งหมดมีฉันทามติสนับสนุนการยอมถอยเรื่อง 112 ของปิยบุตร แม้แต่นักวิชาการที่เคยเคลื่อนไหวในนาม ครก. 112 เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ก็พร้อมเชียร์และให้โอกาสปิยบุตร[3] ในวันนั้น มีแต่ดอกไม้ คำหวาน และคนรายล้อมสนับสนุน นักการเมืองที่ชื่อปิยบุตรเลือดไม่ออก ไม่มีอะไรจะต้องกลืน

Continue reading “นิทานเรื่องการ “กลืนเลือด” ของปิยบุตร แสงกนกกุล”

ข้อเสนอเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของกลุ่มราษฎร 2563 และ(การไม่มี)บทบาทของพรรคอนาคตใหม่

เราไม่มีทางเข้าใจการเกิดขึ้นของม็อบได้ หากไม่มองเป็นการต่อเนื่องของการเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์สถาบัน อย่างน้อยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

เดิมทีกลุ่มที่ก้าวหน้าที่สุด อย่างกลุ่มของเพนกวิ้น รุ้ง อาจจะเป็นคนส่วนน้อย แต่ภายในเวลาไม่กี่เดือน ข้อเรียกร้องของพวกเขากลายเป็นข้อเรียกร้องหลัก เพดานนี้จะไม่ลดแน่ และเราต้องมองว่าเรื่องปฏิรูปสถาบัน เป็นเรื่องที่กลุ่มทุกกลุ่มเห็นตรงกัน ดังนั้น ถึงตอนนี้ คำถามที่ว่า “ทำไมนักศึกษาถึงออกมา?” มันจะตอบไม่ได้เลย ถ้าไม่ถามว่า “ทำไมนักศึกษาถึงวิจารณ์เจ้า?”

Continue reading “ข้อเสนอเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของกลุ่มราษฎร 2563 และ(การไม่มี)บทบาทของพรรคอนาคตใหม่”

จำลองประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ – ปราศรัยโดยสยาม ธีรวุฒิ เช้ามืดวันที่ 6 ตุลาคม 2554

ผมค้นไฟล์เก่าๆ แล้วไปเจอคลิปจำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าจำไม่ผิดสำนักข่าวประชาไทเป็นคนถ่ายเอาไว้ แล้วในวันนั้นมาฝากไว้ที่ผม คลิปที่ว่านี้ไม่แน่ใจว่าประชาไทได้เผยแพร่ไหม แต่ผมหาไม่เจอ เจอแต่รายงานสั้นๆ (Edit: ประชาไทแก้ไขลิ้งค์แล้ว ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูคลิปเต็มได้)

คลิปทั้งหมด 37 คลิป เป็นการจำลองเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ถ่ายไว้ในช่วงเช้ามืดวันที่ 6 ตุลาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มหลักที่เป็นคนจัดกิจกรรมนี้ คือกลุ่มประกายไฟการละคร

ในที่นี้ ผมตัดเฉพาะส่วนของสยาม ธีรวุฒิมาลง เพื่อเป็นการรำลึกถึงเขา ที่ถูกเผด็จการและศักดินาอุ้มหายอย่างโหดเหี้ยม

Continue reading “จำลองประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ – ปราศรัยโดยสยาม ธีรวุฒิ เช้ามืดวันที่ 6 ตุลาคม 2554”

นักการเมืองที่ชื่อปิยบุตร

ตั้งแต่เมื่อทนายอานนท์เดินสายอภิปรายเรื่องสถาบันกษัตริย์ในม็อบ “เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย” เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม และที่เชียงใหม่ในวันที่ 9 สิงหาคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ “กลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม” เสนอข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อในวันที่ 10 สิงหาคม

ดูเหมือนว่ากระแสปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ทั้งหมดจากภาคประชาชนนี้ แทบไม่ได้ถูกนำมาอภิปรายอย่างจริงจังจากฝ่ายการเมืองฝั่ง “ประชาธิปไตย” เห็นเพียงแต่ออกมาในลักษณะสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา แต่ไม่มีการผลักดันรณรงค์ให้เป็นวาระของพรรคหรือมีการอภิปรายใดๆ ในสภา ทั้งนี้ อาจเพราะนักการเมืองฝ่าย “ประชาธิปไตย” หลายคน มีลักษณะ “ฉวยโอกาส” คือเห็นว่ากระแสนี้มาแรงในคนรุ่นใหม่ จึงไม่พลาดโอกาสในการได้ “ไลค์” ง่ายๆ โดยการออกมาพูดเท่ๆ แต่ไม่ได้ “อิน” หรือเข้าใจประเด็นเรื่องนี้อย่างจริงจัง และไม่แม้แต่คิดที่จะนำไปผลักดันให้เป็นจริงขึ้นมา

Continue reading “นักการเมืองที่ชื่อปิยบุตร”