กษัตริย์นักประชาธิปไตย (?) : สถาบันกษัตริย์สเปนในช่วงเปลี่ยนผ่าน

“…สถาบันกษัตริย์ สัญลักษณ์แห่งความสถาพรและเอกภาพของชาติ มิอาจยอมรับการกระทำหรือทัศนคติใด ๆ ของบุคคลที่ใช้กำลังเข้าขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญที่ชาวสเปนได้ออกเสียงรับรองผ่านการทำประชามติ [1]

ในหลายประเทศ การได้มาซึ่งประชาธิปไตยมักจะมาจากการต่อสู้และเรียกร้อง-ของชนชั้นกลางถึงล่างต่อชนชั้นนำทางการเมือง โดยเฉพาะต่อสถาบันกษัตริย์ หรือกล่าวโดยสั้นว่า กษัตริย์ถูกมองเป็นคู่ขัดแย้งของการเดินทางสู่ประชาธิปไตย แต่คำกล่าวด้านบนนี้อาจทำให้หลายคนต้องหยุดคิดและพยายามจินตนาการถึงสิ่งที่เหมือนจะขัดต่อความรู้สึกว่า “สถาบันกษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างและปกปักรักษาประชาธิปไตย” ทว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นในประเทศสเปน และได้กลายเป็นต้นแบบของการสร้างประชาธิปไตยให้กับหลายกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันออกในเวลาต่อมา

การสร้างประชาธิปไตยโดยชนชั้นนำและสถาบันกษัตริย์ในสเปนนั้นได้รับความสนใจจากแวดวงวิชาการที่ศึกษาชนชั้นนำและการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบัน นี่จึงเป็นที่มาของงานเขียนชิ้นเล็กๆ นี้ที่พยายามลากเส้นความสัมพันธ์และสร้างคำอธิบายเพื่อตอบและตั้งคำถามชวนคิดเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์สเปนในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน โดยงานชิ้นนี้จะชวนกลับไปยังสเปนในช่วงทศวรรษที่ 1970-1980 เพื่อตอบคำถามว่า “ทำไมสเปนถึงเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงทั้งๆ ที่เพิ่งออกจากระบอบเผด็จการได้ไม่นาน ?”  และ “สถาบันกษัตริย์สเปนมีตำแหน่งแห่งหนใดในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญนี้ ?”

Continue reading “กษัตริย์นักประชาธิปไตย (?) : สถาบันกษัตริย์สเปนในช่วงเปลี่ยนผ่าน”