บันทึกว่าด้วยขบวนการชาวนาไห่เฟิง (แปล)

สมาคมชาวนาไห่เฟิง

บันทึกว่าด้วยขบวนการชาวนาไห่เฟิง
บันทึกว่าด้วยขบวนการชาวนาไห่เฟิง (海丰农民运动)

ลัทธิสังคมนิยมคือหนึ่งในความคิดและอุดมการณ์จากต่างชาติที่ดึงดูดความสนใจของเหล่าปัญญาชนจีนในช่วงสองทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 20 ผู้สมาทานลัทธิมาร์กซ์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังชัยชนะของการปฏิวัติบอลเชวิคในรัสเซีย ปี ค.ศ. 1917 จากนั้นในปี ค.ศ. 1921 พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1920s พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเพิ่งกำเนิดขึ้นใหม่นั้นมีฐานสนับสนุนอยู่ในเขตเมือง เช่น ปัญญาชนและผู้ใช้แรงงานที่มีการรวมตัวเป็นสหภาพ แต่ในขณะเดียวกันนี้เองที่การจัดตั้งชาวนาได้มีความคืบหน้าขึ้น

ด้านล่างนี้เป็นส่วนหนึ่งจากบันทึกของเผิงพ่าย (ค.ศ. 1896-1929) เกี่ยวกับความพยายามบุกเบิกจัดตั้งสหภาพชาวนาขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1921-1923 เผิงพ่ายเริ่มมีความสนใจในลัทธิสังคมนิยมของชาวนาขณะที่เขาศึกษาอยู่ในประเทศญี่ปุ่นช่วงปี ค.ศ. 1918-1921 ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นและเริ่มนำความคิดสู่การปฏิบัติ บันทึกนี้ครอบคลุมเรื่องราวความสำเร็จในช่วงต้น ก่อนที่เพิงผ่ายจะต้องหลบหนีจากตำบลไห่เฟิงเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นตัดสินใจกำจัดสหภาพชาวนา

Continue reading “บันทึกว่าด้วยขบวนการชาวนาไห่เฟิง (แปล)”

สถาบันกษัตริย์ รัฐประหาร และการเปลี่ยนผ่านสู่สาธารณรัฐในกรีซ

“… ระบอบกษัตริย์​คืออะไร? มันอ้างความชอบธรรม​ในการใช้อำนาจมาจากที่ใดหรือ? มันได้ให้อะไรที่เป็นประโยชน์​ต่อมนุษยชาติบ้าง? ระบอบกษัตริย์​คือซากเดนของทรราชที่​มนุษยชาติในวันเวลาที่ดำมืดที่สุดและโง่เขลาที่สุดในประวัติศาสต​ร์ของพวกเรา​ต้องถูกบีบบังคับให้ยอมรับโดยน้ำมือแห่งความโลภและความทุรยศ​ แหล่งความชอบธรรม​เดียว​ที่มันอ้างอิงคือดาบของโจรนักปล้นสะดม​และความไร้หนทางสู้ของเจ้าของทรัพย์​ ประโยชน์​ของมันต่อมนุษยชาติหามีไม่​ ยกเว้นเสียแต่จะประเมินคุณค่า​ของมันด้วยตัวอย่างแห่งชัยชนะอันเลวทราม​และความเอาเปรียบอย่างหน้าด้านๆ… “

James Connolly, Visit of King George V, 1910

เมื่อพูดถึงสถาบันกษัตริย์กับการรัฐประหาร กษัตริย์ฆวน คาร์ลอสของสเปนได้รับการพูดถึงมากที่สุด เพราะการปฏิเสธรัฐประหารของกษัตริย์หนุ่มมีส่วนทำให้สถาบันกษัตริย์สเปนดำรงมาได้จนถึงปัจจุบัน (แม้พฤติกรรมของตัวเขาเองในวัยชราก็ดูจะมีบทบาทสั่นคลอนสถานะของสถาบันกษัตริย์สเปนในปัจจุบันไม่น้อยทีเดียว) ผมขอเขียนถึงกรณีของกษัตริย์คอนสแตนตินที่ ๒ กษัตริย์หนุ่มที่พยายามเข้ามาบทบาททางการเมืองโดยตรงและสนับสนุนการรัฐประหารบ้าง

Continue reading “สถาบันกษัตริย์ รัฐประหาร และการเปลี่ยนผ่านสู่สาธารณรัฐในกรีซ”