ความกตัญญูยังจำเป็นอยู่หรือไม่? เรื่องของความกตัญญู ครอบครัว และรัฐสวัสดิการ


(ความกตัญญูในภาษาจีน 孝 ประกอบมาจากตัวอักษรสองตัว คือคำว่า คนชรา และคำว่า เด็ก สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างคนสองรุ่น แตกต่างจากแนวคิดเรื่องความกตัญญูแบบพุทธที่เป็นการตอบแทนบุญคุณ)


บทความชิ้นนี้เรียบเรียงขึ้นจากคำร่างประกอบการเสวนาหัวข้อ ‘ความกตัญญูและบทบาทของครอบครัวในสังคมทุนนิยม’ โดยกลุ่ม ‘ไส้ตะเกียงเสวนา’ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567 ที่ร้านหนังสือ Book: Republic ในการสนทนาครั้งนี้ ผู้เขียนได้อภิปรายถึงความหมายของความกตัญญูและบทบาทของครอบครัวในฐานะพื้นที่ของการเรียนรู้ที่จะเป็นมนุษย์ตามแนวคิดของขงจื่อ ซึ่งต่อไปนี้ผู้เขียนจะเรียกว่า ‘แนวคิดหรู’ (儒家)[1] นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เสนอแนวคิดรัฐสวัสดิการที่วางอยู่บนฐานของความกตัญญูและครอบครัวแบบดังกล่าวอีกด้วย[2]

Continue reading “ความกตัญญูยังจำเป็นอยู่หรือไม่? เรื่องของความกตัญญู ครอบครัว และรัฐสวัสดิการ”

อ่านเนื้อเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ ใหม่ – เมื่อเรารู้ว่าราชวงศ์จักรีไม่ใช่ ‘คนไทย’

เพลง ‘หนักแผ่นดิน’ ดูจะเป็นเพลงติดอันดับท็อปชาร์ตของชาวอนุรักษนิยม ประเภทที่เมื่อนึกไม่ออกว่าจะตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามอย่างไร พวกเขาก็จะ ‘ดนตรีบำบัด’ (music therapy) ด้วยการเปิดเพลงหนักแผ่นดิน จะด้วยเพื่อปลอบประโลมจิตใจของตนเองด้วยความเกลียดชังและด่าพวกเราซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามของพวกเขาไปในเวลาเดียวกันด้วยหรือไม่ก็ไม่อาจรู้ได้

คงไม่ต้องสาธยายให้มากความว่าเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ มีเนื้อหาอย่างไร เพราะผู้อ่านทุกท่านก็คงจะรู้จักดี แต่เราควรทราบด้วยว่าเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในสมัยสงครามเย็น

“หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดิน” ไม่ได้หมายถึงใครนอกไปจากพวกสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสม์ในประเทศไทยที่ “เกื้อหนุนอคติเชื่อลัทธิอันธพาล แพร่นำมันมาบ้านเมืองเรา”

กล่าวโดยสรุป เพลง ‘หนักแผ่นดิน’ จึงเป็นการประกาศต่อต้านคนไทยด้วยกันเองที่เอาใจฝักใฝ่ต่างชาติ และ ‘ลัทธิต่างชาติ’ เพื่อบ่อนทำลายความเป็นไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยอันดีงาม แล้วยุยงให้คนไทยต้องฆ่าคนไทยด้วยกันเอง

Continue reading “อ่านเนื้อเพลง ‘หนักแผ่นดิน’ ใหม่ – เมื่อเรารู้ว่าราชวงศ์จักรีไม่ใช่ ‘คนไทย’”

春夏秋冬 (เพลงรักสี่ฤดู) – แปล

ทำนอง เยี่ยเหลียงจวิ้น (叶良俊)
คำร้อง หลินเจิ้นเฉียง (林振强)
เรียบเรียง เอเดรียน ชาน (陈伟文)
แปล อติเทพ ไชยสิทธิ์ (文志明)
ขับร้อง เลสลี่ จาง (จางกั๋วหรง) (张国荣)

Continue reading “春夏秋冬 (เพลงรักสี่ฤดู) – แปล”

ถึงเวลาโยนศาสนาพุทธลงถังขยะแล้วหรือยัง?

แม้ศาสนาพุทธจะมีแนวคิดบางอย่างที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว ผู้เขียนเห็นว่าศาสนาพุทธในฐานะสถาบันทางสังคมนั้นล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะในบทบาททางคุณธรรมหรือทางการเมือง แต่ในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนจะไม่อภิปรายถึงศาสนาพุทธในฐานะความเชื่อส่วนบุคคลหรือความล้มเหลวในทางคุณธรรม แต่จะวิพากษ์วิจารณ์ศาสนาพุทธในฐานะสถาบันทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของสังคมไทย

Continue reading “ถึงเวลาโยนศาสนาพุทธลงถังขยะแล้วหรือยัง?”

เลือดชิด: สำรวจการสมรสในหมู่เครือญาติของราชวงศ์จักรี

“…การสมรสในหมู่เครือญาติ (consanguineous marriage หรือ inbreeding) เป็นประเพณีที่ได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูงของหลายวัฒนธรรม ถึงแม้การสมรสในหมู่เครือญาติของพวกชนชั้นสูงจะถูกใช้เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจทางการเมืองและความมั่งคั่งให้อยู่ในมือของคนในครอบครอบเดียวกัน แต่ก็ส่งผลให้สมาชิกของครอบครัวเต็มไปด้วยคนที่มีสุขภาพอ่อนแอ เป็นหมัน หรือมีอายุขัยที่สั้นกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่มีการสมรสในหมู่เครือญาติ…”

“…Sweet home Alabama
Where the skies are so blue
Sweet home Alabama
Lord I’m comin’ home to you…”

เพลง Sweet home Alabama

การสมรสในหมู่เครือญาติ (consanguineous marriage หรือ inbreeding) เป็นประเพณีที่ได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูงของหลายวัฒนธรรม ตัวอย่างที่ได้รับการพูดถึงมากเป็นพิเศษก็คือราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (House of Habsburg) แห่งออสเตรีย (ภาพที่ 1) ซึ่งการสมรสในหมู่เครือญาติอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์

งานวิจัยด้านสาแหรกวิทยาโดย Ceballos และ Alvarez ในหัวข้อ “พระราชวงศ์ในฐานะของห้องปฏิบัติการผสมพันธุ์มนุษย์: พวกฮับสบูร์ก” (Royal dynasties as human inbreeding laboratories: the Habsburgs) ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Heredity ในปี ค.ศ. 2013 ชี้ให้เห็นว่าการสมรสในหมู่เครือญาติตลอดหลายชั่วคนของราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับอายุขัยที่สั้นลงของสมาชิกราชวงศ์ ถึงแม้การสมรสในหมู่เครือญาติของพวกชนชั้นสูงจะถูกใช้เป็นเครื่องมือรักษาอำนาจทางการเมืองและความมั่งคั่งให้อยู่ในมือของคนในครอบครอบเดียวกัน แต่ก็ส่งผลให้สมาชิกของครอบครัวเต็มไปด้วยคนที่มีสุขภาพอ่อนแอ เป็นหมัน หรือมีอายุขัยที่สั้นกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวที่มีการสมรสในหมู่เครือญาติ (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 1 – สมาชิกราชวงศ์ฮับสบูร์กมีจุดเด่นคือคางที่ยื่นยาวจนมีชื่อเรียกว่า ‘กรามแบบฮับสบูร์ก’ (Habsburg Jaw) ตามภาพคือซ้ายสุด กษัตริย์เฟอร์ดินานที่ 2 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Ferdinand II, Holy Roman Emperor), ตามด้วยพระราชินีมาเรียอาน่าแห่งออสเตรีย (Mariana of Austria), กษัตริย์ฟิลิปส์ที่ 4 แห่งสเปน (Philip IV of Spain), และกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสเปน (Charles II) ซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮับสบูร์ก – แหล่งที่มา: The Times

ในกรณีของสัตว์ที่มีการเพาะพันธุ์ไม่ว่าจะเพื่อความสวยงาม หรือกีฬา มักใช้วิธีการผสมพันธุ์ในเครือญาติเพื่อรักษาลักษณะเด่นที่ต้องการเอาไว้ แต่ก็จะต้องพยายามไม่ให้สัตว์เหล่านั้นมีการผสมพันธุ์ในเครือญาติมากจนเกินไปเนื่องจากจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมได้ง่ายขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่อมีการผสมพันธุ์ในเครือญาติ โอกาสที่จะมีการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมก็จะมากขึ้นไปด้วย ดังนั้น หากไม่มีการควบคุมและปล่อยให้มีการผสมพันธุ์ในเครือญาติต่อไปเรื่อยๆ สัตว์ในรุ่นถัดๆ ไปก็จะอ่อนแอลงเพราะโรคทางพันธุกรรมเหล่านั้น สถานการณ์นี้เรียกว่า ‘สภาวะเครียดของความเลือดชิด’ (inbreeding depression)

Continue reading “เลือดชิด: สำรวจการสมรสในหมู่เครือญาติของราชวงศ์จักรี”

คำประกาศอิสรภาพและสถาปนาสาธารณรัฐไอริช ค.ศ. ๑๙๑๖ (เหตุการณ์ลุกฮือวันอีสเตอร์)

POBLACHT NA hÉIREANN(1)
รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐไอริช ถึงประชาชนชาวไอร์แลนด์

ชายและหญิงชาวไอริชทั้งหลาย: ในนามของพระผู้เป็นเจ้าและในนามของบรรพบุรุษผู้วายชนม์หลายชั่วคนซึ่งมอบธรรมเนียมอันเก่าแก่แห่งความเป็นชาติมายังไอร์แลนด์(2) บัดนี้เธอได้ประกาศผ่านพวกเราถึงบุตรหลานของเธอให้จงมายังธงของเธอและลุกขึ้นสู้เพื่อเสรีภาพของไอร์แลนด์

ไอร์แลนด์ได้จัดตั้งและฝึกฝนความกล้าหาญของเธอผ่านองค์การใต้ดินคือขบวนการภราดรสาธารณรัฐไอริช(3) และกองกำลังบนดินคือขบวนการอาสาไอริช(4) และกองทัพพลเมืองไอริช(5) เธอยังได้สั่งสมวินัยด้วยความอดทนและเฝ้ารอคอยอย่างแน่วแน่ถึงโอกาสอันเหมาะสมที่จะเผยตนเองออกมา และบัดนี้เธอก็ได้ไขว่คว้าโอกาสนั้น ทั้งด้วยการสนับสนุนจากบุตรหลานพลัดถิ่นในอเมริกาและพันธมิตรอันกล้าหาญในยุโรป(6) แต่กระนั้นเธอก็ยังพึ่งพากำลังของตนเองเป็นหลัก และไอร์แลนด์ก็ได้ลุกขึ้นสู้ด้วยความมั่นใจในชัยชนะอย่างเต็มเปี่ยม

Continue reading “คำประกาศอิสรภาพและสถาปนาสาธารณรัฐไอริช ค.ศ. ๑๙๑๖ (เหตุการณ์ลุกฮือวันอีสเตอร์)”

เก่งมาจากไหนถึงไม่ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

(ชื่อบทความชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อหนังสือ ‘เก่งมาจากไหนถึงไม่เอากษัตริย์’ ของปราโมท นาครทรรพ)

เราเดินทางมาไกลแล้ว แต่เราจะต้องเดินต่อไป

การชุมนุมเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ (จากเว็บ thai-democracy.com)

เป็นเวลาปีกว่านับตั้งแต่การประกาศข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ๑๐ ข้อของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในทางการเมืองที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยสมัยใหม่ได้ถูกนำมาพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์ในที่สาธารณะเป็นวงกว้างอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ผลลัพธ์อันนี้ก็สืบเนื่องมาจากความกล้าหาญอันควรค่าแก่การยกย่องของเยาวชนและประชาชนที่ร่วมกันผลักดันการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะในท้องถนน ในรัฐสภา ในที่ทำงาน ในโรงเรียน ในบ้าน และในอินเตอร์เน็ท แต่ก็อย่างที่เราได้เห็นในปีที่ผ่านมาเช่นกันว่ารัฐและสถาบันกษัตริย์ไม่ได้เห็นข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อยู่ในสายตา สำหรับพวกเขาแล้ว เสียงเรียกร้องของประชาชนให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ก็คงไม่ต่างจากแมลงหวี่แมลงวันที่ก่อความรำคาญชั่วครู่ชั่วยาม และถ้าจำเป็นก็อาจจะต้องกำจัดให้พ้นความรำคาญไปเสียบ้าง – การใช้กำลังกดขี่ปราบปรามประชาชนที่ได้เคยเกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นอยู่ก็มีลักษณะเช่นนี้เอง

ถึงแม้การกดขี่ปราบปรามของรัฐจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นและมุ่งเน้นกำจัดคนที่ยังยืนหยัดพูดเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์จนทำให้การพูดถึงปัญหาของสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยแผ่วเบาลงไปก็ตามที แต่หากจะเปรียบการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นการเดินทางไกล กว่าเราจะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้ก็เป็นระยะทางที่ไม่ใช่น้อย และในระหว่างทางพวกเรายังได้สะสมเพื่อนร่วมทางมากขึ้นและมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นพวกเราก็ยังจะต้องเดินต่อไปอีก อย่าปล่อยให้ระยะทางและอุปสรรคเบื้องหน้าขัดขวางการเดินทางสู่เป้าหมายของเรา

ในระหว่างการเดินทางไกลนี้เอง  เราได้ทำให้เพื่อนร่วมชาติของเราจำนวนไม่น้อยได้เห็นแล้วว่าปัญหาสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ใช่แค่ความฝันร้ายชั่วครู่ชั่วยามและไม่ใช่สิ่งที่คนไทยจะสามารถหลับตาข้างหนึ่งเพื่อหนีปัญหาแล้วมันจะผ่านพ้นไปได้ แต่เป็นเรื่องที่พวกเราจะต้องหยิบยกพูดถึงในที่สาธารณะอย่างตรงไปตรงมากันเสียที

อย่างไรก็ตาม นอกจากพวกเราจะต้องยืนหยัดที่จะหยิบยกเอาปัญหาสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยออกมาพูดกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว พวกเรายังจำเป็นต้องขยายจำนวนคนที่เห็นด้วยกับเราให้มากขึ้นไปอีก เนื่องเพราะการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เป็นปัญหาสำคัญของชาติ ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนส่วนใหญ่ที่เป็นเป็นเพื่อนร่วมชาติของเราเกิดฉันทามติร่วมกันว่าประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าจะเพื่อรักษาประชาธิปไตยให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ หรือจะเพื่อรักษาสถาบันกษัตริย์เอาไว้ในโลกสมัยใหม่ก็ตามที

Continue reading “เก่งมาจากไหนถึงไม่ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์”

“การชุมนุมนั้นจำเป็นและมีประโยชน์ แต่ไม่อาจเป็นคำตอบ”: แล้วสมศักดิ์เสนออะไร?

ทุกครั้งที่สมศักดิ์แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อการชุมนุมประท้วงไม่ว่าจะตั้งแต่สมัยแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกระทั่งในการเคลื่อนไหวขับไล่ประยุทธ์ จันทร์โอชาและเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน ว่าการชุมนุมเพียงอย่างเดียวไม่อาจเป็นคำตอบที่จะนำไปสู่ชัยชะของประชาชนหรือแม้กระทั่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่แท้จริงได้  เรามักได้เห็นคำถามกลับในทำนองที่ว่า แล้วสมศักดิ์เสนออะไร?”

แม้ว่าข้อเสนอของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลจะค่อนข้างกระจัดกระจายอยู่ในกระทู้ของเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันซึ่งได้ปิดตัวไปแล้วเป็นเวลาหลายปีและยากที่จะค้นคว้าได้โดยง่าย แต่เราอาจสรุปได้อย่างสั้น ๆ ว่า สำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในยุคปัจจุบันนั้น สมศักดิ์เชื่อว่าเราจำเป็นที่จะต้องประยุกต์ใช้ “การทำสงครามช่วงชิงพื้นที่” (War of Position) ตามแนวคิดของอันโตนิโอ กรัมชี (Antonio Gramsci) [1]

Continue reading ““การชุมนุมนั้นจำเป็นและมีประโยชน์ แต่ไม่อาจเป็นคำตอบ”: แล้วสมศักดิ์เสนออะไร?”

สวัสดิการแรงงาน: สิทธิในการศึกษาและการฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่อง (Continuing education) ของฝรั่งเศส

แนวคิดของระบบ CPF เป็นสวัสดิการที่ช่วยให้แรงงานสามารถยกระดับทักษะความรู้ของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อทั้งรัฐและต่อตัวแรงงานเอง – ผู้เขียนเข้าใจว่าประเทศไทยยังไม่มีสวัดิการแรงงานในลักษณะนี้ที่รัฐช่วยอุดหนุนการหาความรู้และยกระดับทักษะของแรงงาน ผู้เขียนคิดว่านี่เป็นประเด็นที่นักสิทธิแรงงานในไทยควรพิจารณาต่อสู้เรียกร้องต่อไป

ตามกฎหมายแรงงานของฝรั่งเศส บุคคลในวัยแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ ๑๖ ปีขึ้นไป (หรือ ๑๕ ปี ในกรณีที่มีสัญญาประเภทฝึกงาน) มีสิทธิ์ในการศึกษาและการฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่อง (Formation continue) หรือ Continuing education จนกระทั่งถึงเกษียณอายุ

ในทางปฏิบัติ ผู้เขียนไม่ทราบถึงรายละเอียดของระบบที่มีการใช้งานอยู่ก่อนหน้าปี ค.ศ. ๒๐๑๕ เพราะผู้เขียนเพิ่งเริ่มทำงานที่ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. ๒๐๑๗ ซึ่งได้มีการใช้ระบบใหม่ที่เรียกว่า ‘ทะเบียนการศึกษาและฝึกฝนทักษะส่วนบุคคล’ (Compte personnel de formation) หรือ CPF มาระยะหนึ่งแล้ว

ระบบ CPF คือการแปลงจำนวนชั่วโมงทำงานให้กลายเป็นเงินเครดิตที่สามารถใช้จ่ายหรือเป็นส่วนลดค่าสมัครหลักสูตรการเรียนรู้และทักษะอาชีพต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพแรงงาน หรือช่วยเพิ่มเติมทักษะที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนสาขาอาชีพ (เงินเครดิตนี้ไม่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้) บุคคลที่มีสิทธิ์ใช้งานระบบ CPF ไม่ใช่แค่คนที่ยังทำงานอยู่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนที่ว่างงานและกำลังหางานทำอีกด้วย – ผู้สมัครระบบ CPF เป็นได้ทั้งบุคคลที่มีสัญญาระยะสั้นหรือสัญญาระยะยาว

Continue reading “สวัสดิการแรงงาน: สิทธิในการศึกษาและการฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่อง (Continuing education) ของฝรั่งเศส”

บทกวี “แด่เพื่อน”

ขออุทิศบทกวีนี้แด่พี่สมยศ ทนายอานนท์ เพนกวิ้น และหมอลำแบงค์ รวมทั้งเพื่อนทุกคนที่กำลังต่อสู้อยู่ในเมืองไทย

(ภาพประกอบ: ปกหนังสือ “ศึก” สมานมิตร สวนกุหลาบ)

เบื้องหน้าคือทางยาว
คดเคี้ยวแหละวกวน
ที่เปลี่ยวเปล่าไร้ผู้คน
ทุรยากลำบากหลาย
เพื่อนเอยช่างหาญกล้า
เดินเดี่ยวคนเดียวดาย
เพื่อนฟันฝ่าอุทิศกาย
ถางแดนเถื่อนให้เป็นทาง
เพื่อนเอยจงมีหวัง
ทางเถื่อนที่เลือนราง
ที่เปรียบดังรุจีกลาง-
ประภาส่องอยู่รำไร
เพื่อนเอยสำนึกตน
เพื่อนหยิ่งว่าเป็นไท
ความเป็นคนอันอำไพ
มิยอมท้อต่ออธรรม
หนทางที่วิบาก-
ทุกก้าวจะเคี่ยวกรำ
นี้ เพื่อนยากดำเนินนำ
และหลอมค่าความเป็นคน
หมื่นพันคำหยันเย้ย
ใครหยามก็ทานทน
เพื่อนวางเฉยมิได้สน
เชิดหน้าดุ่มดำเนินไป
มุ่งหน้าสู่ปลายทาง
แสนคนจะรวมใจ
อันสว่างอยู่เรืองไร
แลล้านคนจะเดินเคียง
ประมวลเป็นคลื่นคน
กู่ร้องและก้องเสียง
ที่ทุกข์ทนอยู่รายเรียง
ให้ถึงฟ้านภาหาว
แม้พรหมมาจำแลง
สูงเทียมดาราพราว
เป็นกำแพงที่เหยียดยาว
ก็ไม่หวั่นจะขวางไหว
คลื่นคนย่อมท่วมท้น
กวาดฟ้าสุราไลย
ทะลักล้นเนืองนองไป
มลายล้างลงเพียงดิน